คำว่า "รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่" ทุกคนคงเคยได้เรียนมาแล้วตั้งแต่ชั้นประถมว่ามีอะไรบ้าง แต่ในชั้นเรียนไม่ได้บอกว่าควรรับประทานอาหารแต่ละหมู่ในปริมาณเท่าไหร่ วันนี้เราเอาความรู้ในเรื่องของ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในสัดส่วนเท่าไหร่มาฝากกันค่ะ เพราะเป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกายที่เรากินกันเป็นประจำ อาหารหลัก 5 หมู่ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว นม เป็นแหล่งของโปรตีน เกลื่อแร่ และวิตามิน รู้จักกันในนาม หมู่เนื้อ
หมู่ที่ 2 ได้แก่ ข้าว แป้ง น้ำตาล หัวเผือกหัวมัน ข้าวโพด อาหารที่ทำจากแป้ง ขนมหวาน พวกนี้รวมเรียกว่า คาร์โบไฮเดรต หรือหมู่แป้งและน้ำตาล
หมู่ที่ 3 ได้แก่ พืชผักกินใบ และพืชผักอื่น ๆ ซี่งมีเกลือแร่และวิตามินเป็นหลัก จัดเป็นหมู่ผัก
หมู่ที่ 4 ได้แก่ ผลไม้หลากชนิด ให้เกลือแร่และวิตามินเช่นกัน เรียกว่า หมู่ผลไม้
หมู่ที่ 5 ไขมันจากสัตว์และพืช พวกนี้มีไขมันที่ให้พลังงานสูง มีวิตามินบางชนิดที่ละลายในไขมันได้ เรียกว่า หมู่ไขมัน
สัดส่วนในการรับประทานคือ สำหรับบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้เป็นนักกีฬา สัดส่วนการรับประทานจะประมาณนี้คือ ควรกินอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ประเภทแป้งที่ไม่ผ่านกรรมวิธี ได้แก่ข้าวซ้อมมือ หัวเผือก หัวมัน ธัญพืชให้ได้ประมาณ 40 % กินผักผลไม้ประมาณ 30 % กินประเภท โปรตีน จำพวกเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว นม ประมาณ 20 % และ ไขมันกับของหวานเพียง 10 % แต่ความต้องการสารอาหารจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ เพศ น้ำหนักตัว หรือกิจกรรมหนักเบาต่าง ๆ ของแต่ละคนด้วย
อาหารสำหรับนักกีฬา
นักกีฬาต้องใช้พลังงานมากกว่าคนปกติ เพื่อการฝึกซ้อมกีฬา จำเป็นต้องเพื่มปริมาณ ให้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นนักกีฬา โดยเน้นที่ประเภทคาร์โบไฮเดรตมากขึ้นในการเพิ่มพลังงาน เพื่อให้มีการสะสมของไกลโลเจน เพราะกล้ามเนื้อในร่างกายได้รับการพัฒนาที่ใหญ่ และจำเป็นต้องใช้ไกลโลเจนสะสมจำนวนมาก เพื่อนำไปใช้อย่างเพียงพอตลอดระยะเวลาการแข่งขันขึ้น และควรกินเนื้อสัตว์ให้เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติด้วย แล้วเดี๋ยววันหลังจะนำเรื่องเกี่ยวกับสุภาพอื่น ๆ มาฝากกันนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น